ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย กับ โรคซึมเศร้า

โดย : Admin Besinsthailand วันที่เผยแพร่ : 26 กรกฎาคม 2566
แชร์ข้อมูล

อาการซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวน นั้นเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ชายและผู้หญิงที่ประสบกับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สามารถระบุได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของความสัมพันธ์นี้ แต่สิ่งที่พิสูจน์ได้คือการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายสามารถแก้ไขอาการนี้ได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นภาวะพร่องฮอร์โมน หรือ โรคซึมเศร้า

เนื่องจากภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และภาวะซึมเศร้านั้น มีอาการร่วมกันอยู่ คือ อาการซึมเศร้า ขาดประสิทธิภาพในการตัดสินใจและมีความวิตกกังวล ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดในกลุ่มผู้ชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ได้เช่นเดียวกัน จึงอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการวินิจฉัย

อาการร่วมที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และภาวะซึมเศร้า ได้แก่

หงุดหงิดง่าย
วิตกกังวล
เศร้า
ความต้องการทางเพศลดลง
มีปัญหาเรื่องความจำ
ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อ
มีปัญหาในการนอนหลับ

อย่างไรก็ตาม อาการภายนอกที่สังเกตได้ของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายและภาวะซึมเศร้ามักจะแตกต่างกัน ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าแต่มีระดับฮอร์โมนปกติ โดยทั่วไปจะไม่พบอาการเต้านมบวม และอาการมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงลดลง ซึ่งนั่นนับเป็นอาการที่สัมพันธ์กับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ส่วนอาการภายนอกที่ชัดเจนของภาวะซึมเศร้านั้นจะเป็นอาการประเภท ปวดศีรษะ และ ปวดหลังเสียมากกว่า

เมื่อคุณมีอาการเหล่านี้ และไม่แน่ใจว่าคุณประสบกับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายหรือมีอาการซึมเศร้า การนัดพบแพทย์ของคุณเพื่อทำการตรวจร่างกายและตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ตรวจเช็คภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายเบื้องต้น ได้ตามลิงค์นี้
https://www.besins-healthcare.co.th/Evaluation
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.healthline.com/health/low-testosterone/depression#low-t-and-depression

บทความที่น่าสนใจ