โรคซึมเศร้า กับ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย

โดย : Admin Besinsthailand วันที่เผยแพร่ : 26 กรกฎาคม 2566
แชร์ข้อมูล
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือ โรคซึมเศร้า

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย กับ โรคซึมเศร้า

อาการซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวน นั้นเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ชายและผู้หญิงที่ประสบกับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) อย่างไรก็ตาม ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือ โรคซึมเศร้า นักวิจัยยังไม่สามารถระบุได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของความสัมพันธ์นี้ แต่สิ่งที่พิสูจน์ได้คือการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายสามารถแก้ไขอาการนี้ได้


เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือซึมเศร้า

เนื่องจากภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และภาวะซึมเศร้านั้น มีอาการร่วมกันอยู่ คือ อาการซึมเศร้า ขาดประสิทธิภาพในการตัดสินใจและมีความวิตกกังวล ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดในกลุ่มผู้ชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ได้เช่นเดียวกัน จึงอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการวินิจฉัย

 

อาการร่วมที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และภาวะซึมเศร้า ได้แก่

หงุดหงิดง่าย
วิตกกังวล
เศร้า
ความต้องการทางเพศลดลง
มีปัญหาเรื่องความจำ
ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อ
มีปัญหาในการนอนหลับ

อย่างไรก็ตาม อาการภายนอกที่สังเกตได้ของ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือ โรคซึมเศร้า มักจะแตกต่างกัน ผู้ที่มี ภาวะซึมเศร้า แต่มีระดับฮอร์โมนปกติ โดยทั่วไปจะไม่พบอาการเต้านมบวม และอาการมวลกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงลดลง ซึ่งนั่นนับเป็นอาการที่สัมพันธ์กับ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ส่วนอาการภายนอกที่ชัดเจนของ ภาวะซึมเศร้า นั้นจะเป็นอาการประเภท ปวดศีรษะ และ ปวดหลังเสียมากกว่า

เมื่อคุณมีอาการเหล่านี้ และไม่แน่ใจว่าคุณประสบกับ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือ โรคซึมเศร้า การนัดพบแพทย์ของคุณเพื่อทำการตรวจร่างกายและตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด

 

ตรวจเช็ก “ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย” เบื้องต้น ได้ตามลิงค์นี้
https://www.besins-healthcare.co.th/evaluation

ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.healthline.com/health/low-testosterone/depression#low-t-and-depression

บทความที่น่าสนใจ