“การใช้ฮอร์โมนบำบัดสำหรับผู้ที่ต้องการข้ามเพศ”

โดย : Admin Besinsthailand วันที่เผยแพร่ : 23 กรกฎาคม 2566
แชร์ข้อมูล
การใช้ฮอร์โมนบำบัด

การใช้ฮอร์โมนบำบัดสำหรับผู้ที่ต้องการข้ามเพศ

การใช้ฮอร์โมนบำบัด ผู้หญิงและผู้ชายแต่ละคนต่างก็รับรู้อัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ว่ามีความเป็นเพศใดในกลุ่มทางเพศของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ โดยที่แต่ละสังคมก็มีกลุ่มทางเพศที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงกับเพศกำเนิด เช่น เด็กชาย เด็กหญิง ผู้ชาย ผู้หญิง หรือเพศอื่น ๆ ซึ่งโดยตามธรรมชาติแล้วทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ต่างก็มีทั้งฮอร์โมนเพศหญิง และฮอร์โมนเพศชาย แต่ฮอร์โมนเพศหญิง ทําให้ผู้หญิงมีลักษณะทางกายภาพของผู้หญิง ได้แก่ การมีหน้าอก สะโพกผาย และผิวเรียบเนียน ในขณะที่ฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ผู้ชายลักษณะทางกายภาพของผู้ชาย ได้แก่ การมีหนวดเครา ขนตามร่างกาย มีกล้ามเนื้อ ผิวหยาบกร้าน หัวล้าน และมีลูกกระเดือก และเมื่อวันหนึ่งผู้หญิง และผู้ชายเหล่านั้นเกิดความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสรีระร่างกายให้มีลักษณะที่บ่งบอกทางเพศที่ต้องการ เทคโนโลยีทางการแพทย์จึงเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว ทั้งการผ่าตัดแปลงเพศ และ การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ (Transgender hormone therapy)

การใช้ฮอร์โมนบำบัด ในบ้านเราผู้ที่ต้องการข้ามเพศ (Transgender) บางคนเลือกที่จะซื้อฮอร์โมนกิน ทา หรือฉีดเอง ซึ่งเป็นอันตรายและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

หลายครั้งเป็นการใช้ฮอร์โมนในปริมาณมาก เพราะต้องการเห็นผลเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก ผู้ที่ต้องการข้ามเพศโดยใช้ฮอร์โมนเพศชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลาย ๆ โรค เช่น ไมเกรน ลมชัก หยุดหายใจขณะหลับ และโรคหัวใจ ในขณะที่ผู้ที่ต้องการข้ามเพศโดยใช้ฮอร์โมนเพศหญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม เนื้องอกของต่อมใต้สมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง ปวดศีรษะรุนแรง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดจากการใช้ฮอร์โมนต่าง ๆ 

ดังนั้น การใช้ฮอร์โมนบำบัด เพื่อการข้ามเพศ ควรอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อได้รับการเปลี่ยนแปลงทางเพศที่เหมาะสม และปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งเริ่มจากการขอคำแนะนำ เพื่อประเมินสุขภาพทั้งจิตใจและร่างกาย การกำหนดปริมาณ และให้ฮอร์โมนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการข้ามเพศแต่ละคน 

โดยหลักการของ การใช้ฮอร์โมนบำบัด เพื่อการข้ามเพศ คือ ลดฮอร์โมนของเพศเดิมที่สร้างจากร่างกาย และเสริมฮอร์โมนของเพศที่ต้องการ รวมทั้งการติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายหลังได้รับฮอร์โมนเป็นระยะ ๆ  เพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของของฮอร์โมน ซึ่งขั้นตอนต่างๆ นั้นเป็นไปเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ที่ต้องการข้ามเพศ และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเป็นผู้ข้ามเพศอย่างสมบูรณ์ 

ข้อมูลอ้างอิง :

มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) http://www.whaf.or.th/  
https://sites.google.com/site/safesex601/-hxrmon-phes-chi-txng-rawang

บทความที่น่าสนใจ