ภาวะวัยทองหญิง: 11 คำถามที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ 2
ภาวะวัยทองหญิง: 11 คำถามที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ 2 ภาวะวัยทองหญิงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิต...
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ
ฮอร์โมนเพศชาย และ
ฮอร์โมนเพศหญิง
ชมรมที่ศึกษาเกี่ยวกับชายสูงอายุนานาชาติ (The International Society for The Study of the Aging Male: ISSAM) ได้ให้คำจำกัดความของ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายที่เกี่ยวเนื่องกับวัยสูงอายุนี้ว่า หมายถึง
1.กลุ่มอาการแสดงของ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ร่วมกับ
2.ระดับฮอร์โมนเพศชาย(Total Testosterone) ที่ลดต่ำลงกว่าปกติ (ต่ำกว่า 350 ng/dl ตาม EAU Guideline 2018)
และส่งผลกระทบต่อคุณภาพการดำรงชีวิต รวมทั้งการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย
อ้วนลงพุง, หงุดหงิดง่าย, เหนื่อยง่าย หมดแรง, ไม่กระฉับกระเฉง, ขาดสมาธิในการทำงาน, ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร, ซึมเศร้า, ไม่มีแรงบันดาลใจ, ร้อนวูบวาบตามตัว
และความต้องการทางเพศลดลง
The Androgen Deficiency in Aging Male (ADAM) Questionnaire โดยแบบสอบถามเพื่อคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายนี้ ประกอบด้วย 10 ข้อคำถาม
เนื่องจากมีความง่าย ความไว และความจำเพาะสูงในการวินิจฉัย
เพราะ ฮอร์โมนเพศชาย(Testosterone) หลั่งสูงสุดในตอนเช้า ควรเจาะเลือดตรวจในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 7.00-11.00 น. (ไม่เกิน 11 โมงเช้า)
*โดยไม่จำเป็นต้อง งดน้ำ-งดอาหาร ก่อนมาเจาะเลือด
1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น
การงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การควบคุมอาหารประเภทแป้งและไขมัน, การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2.การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน
เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย
ผู้ที่มีอาการแสดงของ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ร่วมกับ มีระดับฮอร์โมนเพศชาย (Total Testosterone)
อยู่ระหว่าง 230-350 ng/dl (ต่ำกว่า 350 ng/dl)
*อาจทดลองให้การรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชายทดแทนเป็นระยะเวลา 3-6 เดือน แล้วประเมินผลการรักษาอีกครั้ง
ระดับฮอร์โมนเพศชาย(Testosterone) ทั้งหมดในกระแสเลือด จะอยู่ระหว่าง 300-1,000 ng/dl
*โดยในชายอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ระดับฮอร์โมนเพศชาย(Testosterone) จะลดลงประมาณร้อยละ 1 ต่อปี
*จากสถิติมีการพบ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายได้มากถึง 1 ใน 3 ของชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ควรมีการตรวจวัดระดับ
1.ฮอร์โมนเพศชาย(Total Testosterone)
2.Prostate-specific antigen (PSA) เพื่อคัดกรองหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
3.ค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง
ก่อนและหลังการรักษา 3-6 เดือน และทุก 1 ปีตามลำดับ
ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
1.เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม
2.มีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงสูง (ค่า hematocrit>54%)
3.มีภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ
4.มีภาวะหัวใจล้มเหลวในการทำงานระดับรุนแรง
5.มีอาการในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างระดับรุนแรง จากโรคต่อมลูกหมากโต(ค่าคะแนน IPSS > 21)
เนื่องจากเมื่อฮอร์โมนเพศชายลดต่ำลงจนเกิดภาวะ พร่องฮอร์โมนเพศชาย จนมีการสะสม ไขมันที่หน้าท้อง (Visceral Fat) และส่งผลให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้น จึงส่งผลให้คนที่พร่องฮอร์โมนเป็น โรคเบาหวานและส่งผลต่อ กลุ่มอาการอ้วนลงพุง ตามมา
ภาวะวัยทองหญิง (Menopause) คือ วัยที่มีการหยุดผลิตไข่ และมีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงลดลงอย่างมากของรังไข่
สตรีเข้าสู่วัยทองแล้วเมื่อประจำเดือน ไม่มาติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือนหรือ 1 ปี (Postmenopause)
อาการต่างๆเกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน สตรีบางคนอาจไม่มีอาการเลย หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือ เพียงระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่บางคนอาจมีอาการที่รุนแรง จนรบกวนวิถีชีวิตประจำวัน
การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทอัตโนมัติ VMS ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ (hot flush) และเหงื่อออกในตอนกลางคืน (night sweat) และ ภาวะช่องคลอดแห้งนั้น สัมพันธ์กับการลดลง ของระดับเอสโตรเจนเช่นกัน
ช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) เป็นอาการขาดเมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอด ทำให้เยื่อบุช่องคลอดขาดความชุ่มชื้น จนเกิดความแห้งกร้าน และอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บขึ้นได้ ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของวัยทอง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกวัย
ผู้หญิงที่มี ภาวะช่องคลอดแห้ง อาจมีอาการได้ตลอดเวลา ในบางรายอาจมีอาการเป็นระยะ หรือเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์ อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้
-มีอาการคัน เกิดการระคายเคือง หรือความรู้สึกแสบร้อนบริเวณช่องคลอด
-รู้สึกไม่สบายตัว หรือเจ็บในขณะมีเพศสัมพันธ์
-ความต้องการทางเพศลดลง และถึงจุดสุดยอดได้ยากมากขึ้น
-เยื่อบุช่องคลอดบาง และมีสีซีดลง อาจมีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์
-ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
-มีอาการแสบขณะปัสสาวะ
-อาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะขึ้นบ่อย ๆ ได้ในบางราย
แม้ว่าภาวะช่องคลอดแห้งเกิดได้บ่อยในผู้หญิงและสามารถดีขึ้นได้เอง แต่หากอาการที่เกิดขึ้นกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์จนนำไปสู่ปัญหาระหว่างคู่ครอง ควรไปพบแพทย์
ภาวะช่องคลอดแห้งสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยมีดังนี้
วัยทอง – เป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง โดยปกติผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่าเอสโตรเจนเป็นตัวรักษาเยื่อบุช่องคลอดให้มีสุขภาพดีด้วยการผลิตเมือกใส เคลือบบริเวณผนังช่องคลอดให้มีความหนาและยืดหยุ่น แต่เมื่อเข้าสู่วัยทองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของร่างกาย รวมไปถึงปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้สารหล่อลื่นเหล่านี้ถูกผลิตน้อยลงจนอาจไม่มีเลยในบางคน ส่งผลให้ผนังช่องคลอดบางลง ขาดความชุ่มชื้น และไม่ยืดหยุ่น จนเกิดอาการภาวะช่องคลอดแห้ง
อยู่ในช่วงให้นมบุตรหรือคลอดลูก – ระดับเอสโตรเจนในช่วงนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและลดลงอย่างรวดเร็ว จึงอาจทำให้ช่องคลอดแห้งได้ชั่วคราว
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รักษาด้วยวิธีการฉายแสง (Radiotherapy) บริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือการทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) ด้วยการรับประทานยาต้านเอสโตรเจน (Anti-estrogen) ในบางครั้ง ก็อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดมีความบางลง มีอาการแห้งตามมา
การคุมกำเนิดด้วยการฉีด หรือ รับประทานยาอาจทำให้สภาพในช่องคลอดแห้งขึ้นได้เป็นครั้งคราว
การผ่าตัดรังไข่ออก – ฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกผลิตขึ้นที่รังไข่ เมื่อมีการผ่าตัดรังไข่ออกจึงส่งผลกระทบต่อปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย
ความเครียดอย่างรุนแรง อาการซึมเศร้า หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก
ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะช่องคลอดแห้งได้จากสาเหตุอื่น เช่น อาการขาดนิโคตินในผู้ที่สูบบุหรี่ โรคเบาหวาน การสวนล้างช่องคลอด การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
ภาวะช่องคลอดแห้ง โดยทั่วไปอาจทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา หรือแบคทีเรีย บริเวณช่องคลอดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแผลหรือรอยถลอกที่ผนังช่องคลอดที่ขาดความยืดหยุ่น บางลง และระคายเคืองได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บแสบในขณะมีเพศสัมพันธ์จนกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครองได้
แพทย์จะเริ่มซักถามประวัติทางการแพทย์ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ระยะเวลาแสดงอาการ หรือ สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจสร้างความระคายเคืองบริเวณช่องคลอด เช่น การสวนล้างช่องคลอด การใช้ยาบางชนิด แต่โดยทั่วไปเมื่อแพทย์สอบถามอาการคร่าว ๆ หากพบว่ามีอาการคัน แสบร้อน หรืออาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถคาดเดาได้ว่าผู้ป่วยน่าจะมีภาวะช่องคลอดแห้งเกิดขึ้น
จากนั้นจะมีการตรวจภายใน เพื่อตรวจดูความผิดปกติผนังช่องคลอด และ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออาจตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเข้าวัยทอง เพื่อช่วยยืนยันผล และวางแผนรักษาแก้ไขอย่างเหมาะสมต่อไป
ภาวะช่องคลอดแห้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในวัยหมดประจำเดือน และบางครั้งอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ส่งผลให้สภาวะภายในช่องคลอดเสียสมดุล
มีแนวทางการป้องกัน ดังนี้
– รับประทานอาหารที่มีผลดีต่อบริเวณช่องคลอด เช่น โยเกิร์ต ที่อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อรา หรือ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่มีส่วนประกอบเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนเล็กน้อย และ ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งอาจจะช่วยเป็นสารหล่อลื่นตามธรรมชาติได้
– หลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางอนามัยที่มีส่วนประกอบของสารโนน๊อกซินอล 9 (Nonoyxnol-9: N-9) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการช่องคลอดแห้งได้
– ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม หรือ สารเคมีบริเวณอวัยวะเพศ รวมไปถึงการสวนล้างช่องคลอดบ่อย ๆ ซึ่งจะทำให้อาการแย่ลง เนื่องจากอาจทำให้สภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอดเสียสมดุลไป
– ทำจิตใจให้แจ่มใสพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง พยายามไม่เครียด
การรักษาภาวะช่องคลอดแห้งนั้น ต้องพิจารณาสาเหตุการเกิดเป็นหลัก จึงควรมีการปรึกษาแพทย์ในการค้นหาสาเหตุที่แน่ชัดก่อน โดยวิธีการรักษาหลักที่นิยมใช้ มีดังนี้
– การใช้สารหล่อลื่น ในรูปแบบเจลหรือของเหลว (KY Gel) เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยทาบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องคลอดของฝ่ายหญิง หรือทาที่อวัยวะเพศชาย ก่อนการมีเพศสัมพันธ์
– การใช้สาร(เจล)หล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นในช่องคลอด รูปแบบเจลสำหรับใช้ทาภายในช่องคลอดโดยเฉพาะ เพื่อบรรเทาสภาพแห้งของช่องคลอด ตัวยาออกฤทธิ์ได้นาน โดยทา 2-3 วันต่อครั้ง จึงช่วยบรรเทาอาการได้ดีกว่าการใช้สารหล่อลื่น แต่ควรระวังการใช้ยาประเภทที่เป็นปิโตรเลียมเจลและน้ำมัน ซึ่งอาจจะทำปฏิกิริยากับถุงยางอนามัย และอาจสร้างความระคายเคืองให้กับช่องคลอดได้
– ยาฮอร์โมนเฉพาะที่ เป็นยาที่ใช้สำหรับทาบริเวณช่องคลอดโดยตรงในรูปแบบยาทา หรือยาเม็ดสอดในช่องคลอด โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาจะปล่อยเอสโตรเจนออกมาในบริเวณช่องคลอด ทำให้เยื่อบุบริเวณช่องคลอดชุ่มชื้นขึ้น
การให้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy: HRT) เป็นตัวยา กลุ่มฮอร์โมนสำหรับรักษาผู้ที่มีภาวะช่องคลอดแห้ง เนื่องมาจากการหมดประจำเดือน โดยเป็นยาฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย จึงสามารถช่วยรักษาอาการอื่นของวัยทองอื่นด้วยได้ เช่น ภาวะร้อนวูบวาบ อารมณ์หงุดหงิด ส่วนใหญ่เป็นยามีทั้งรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ยานี้อาจมีความเสี่ยงในการใช้ยาเกิดขึ้นได้ จึงควรมีการปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญถึงผลเสีย และผลดีของการใช้ยา