Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ภาวะวัยทองหญิง: 11 คำถามที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ 1

โดย : Admin Besinsthailand วันที่เผยแพร่ : 23 กรกฎาคม 2566
โดย : Admin Besinsthailand วันที่เผยแพร่ : 23 กรกฎาคม 2566
แชร์ข้อมูล
วัยทองหญิง

ภาวะวัยทองหญิง: 11 คำถามที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ 1

ภาวะหมดประจำเดือนหรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ภาวะวัยทองหญิง (Menopuase)  คือการที่เลือดประจำเดือนขาดหายเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี ในผู้หญิงแต่ละคนจะมีประสบการณ์วัยทองที่ช่วงอายุต่างกันออกไป ผู้หญิงบางคนอาจจะหมดประจำเดือนอย่างถาวร เนื่องจากการผ่าตัดเอารังไข่ทั้งสองข้างออก (Surgical menopause) นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคหรือการใช้ยา เช่น โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือจากการทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง 

เมื่อคุณเป็นผู้หญิงที่มีอายุเริ่มเข้าสู่วัยทอง แน่นอนว่าย่อมมีคำถามมากมายเกิดขึ้นเกี่ยวกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคุณ และเหล่านี้คือคำถามที่ถูกถามบ่อยที่สุด

11 คำถามและคำตอบที่จะช่วยให้คุณเข้าใจภาวะวัยทองมากขึ้น และเตรียมร่างกายของคุณให้พร้อมเข้าสู่วัยทองอย่างมีคุณภาพ

  1. ฉันจะเริ่มเข้าสู่ภาวะวัยทองเมื่อไหร่

    51 ปี คืออายุโดยเฉลี่ยของการเข้าสู่ภาวะวัยทอง ผู้หญิงส่วนใหญ่จะขาดประจำเดือนในช่วงระหว่างอายุ 45 – 55 ปี ทั้งนี้ด้วยสภาพร่างกายที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน วงจรไข่ตกในผู้หญิงบางคนอาจหยุดก่อนวัยอันควร ในขณะที่ผู้หญิงบางคนก็ยังมีประจำเดือนจนถึงปลายอายุ 50 ปี

  2. ระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause) กับ วัยหมดประจำเดือน (menopause) ต่างกันอย่างไร

    ระยะก่อนหมดประจำเดือนจะเกิดขึ้นก่อนวัยหมดประจำเดือน คล้ายสัญญาณเตือนล่วงหน้า เมื่อรังไข่ผลิตฮอร์โมนลดลง ผู้หญิงจะเริ่มมีอาการที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง เช่น รู้สึกร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน รอบเดือนอาจจะมาขาด ๆ หาย ๆ แต่มันจะยังไม่หยุดในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยทอง เมื่อรอบเดือนหยุดเป็นระยะเวลา 12 เดือนต่อเนื่องกัน

  3. เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลง ผู้หญิงจะมีอาการอย่างไรบ้าง

    ผู้หญิงประมาณร้อยละ 75 จะพบอาการรู้สึกร้อนวูบวาบทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน ในผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อและบริเวณข้อต่อ หรือมีอารมณ์แปรปรวน ทั้งนี้อาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่ผันแปรไปตามปัจจัยการใช้ชีวิต และกระบวนการแก่ชราของร่างกายแต่ละคน

  4. อาการร้อนวูบวาบเป็นอย่างไร

    คุณจะรู้สึกถึงอุณหภูมิในตัวสูงขึ้นฉับพลัน อาการร้อนวูบวาบจะเริ่มตั้งแต่ศีรษะลงไป ส่งผลให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรอยจ้ำ อาการร้อนวูบวาบนี้อาจทำให้คุณเหงื่อออก ใจเต้น และวิงเวียนศีรษะ แล้วหลังจากนั้นคุณเปลี่ยนไปรู้สึกหนาว อาการร้อนวูบวาบอาจเกิดขึ้นวันละครั้งหรือหลาย ๆ ครั้ง ในเวลาตลอด 1 ปีหรือหลายปีติดต่อกัน

    ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกร้อนวูบวาบที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ 
      • การดื่มแอลกฮอล์หรือกาแฟ
      • การรับประทานอาหารรสจัด 
      • ความเครียด 
      • การอยู่ในที่ร้อน
      • การมีน้ำหนักเกิน หรือการสูบบุหรี่ที่ทำให้อาการร้อนวูบวาบรุนแรงขึ้น 
    เทคนิคที่ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ
      • แต่งตัวหลายชั้นเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น 
      • ฝึกสังเกตลมหายใจ 

    อย่างไรก็ดีการใช้ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนทดแทน หรือยาอื่น ๆ สามารถบรรเทาอาการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง 

  5. อาการวัยทองส่งผลต่อกระดูกอย่างไร

    ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงส่งผลต่อปริมาณแคลเซียมในกระดูก ทำให้กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง ส่งผลให้เกิดสภาวะโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะทวีความรุนแรงในช่วงไม่กี่ปีหลังการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
    สิ่งที่ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงยิ่งขึ้น 

    • การกินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หรือใบผักสีเขียว
    • การกินวิตามินดี 
    • ลดการดื่มแอลกฮอล์ 
    • งดการสูบบุหรี่ 
    • พบแพทย์เมื่อต้องการยาที่ช่วยป้องกันการสูญเสียกระดูก 
  6. โรคหัวใจเกี่ยวข้องกับภาวะวัยทองหรือไม่

    ภาวะวัยทองเชื่อมโยงกับอาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น วิงเวียนศีรษะ หรือใจสั่น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงส่งผลหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น ซึ่งส่งผลต่อการหมุนเวียนของเลือด
    การควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการงดสูบบุหรี่ช่วยส่งเสริมให้อาการต่าง ๆ เกี่ยวกับหัวใจดีขึ้น

สำหรับคำถามที่เหลือพบกันใหม่ใน ตอนถัดไปค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง : 

http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=1156

https://www.healthline.com/health/menopause/menopause-facts#_noHeaderPrefixedContent

บทความที่น่าสนใจ

บทความที่น่าสนใจ